การจ้างจำนวนพนักงานที่เหมาะสมกับร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย ๆ บางร้านจ้างพนักงานไม่พอเกิดปัญหาทั้งหน้าร้าน หลังร้าน ทำให้ลูกค้ารอนาน บริการไม่ทั่วถึงโดนโวย บางร้านก็จ้างพนักงานซะโอเวอร์แบกค่าแรงจนจุก คำถามคือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าร้านเราจะต้องใช้พนักงานจำนวนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมไม่มาก ไม่น้อย เรามีสูตรคิดง่าย ๆ มาฝาก
อันดับแรกเลย เริ่มที่ว่าร้านเราเปิดขายกี่โมง ถึง กี่โมง เพื่อกำหนดก่อนว่าจะต้องใช้พนักงานกี่กะ เช่น ร้านเปิด 09.00-22.00 น. ต้องใช้พนักงาน 2 กะ
อันดับต่อมาให้ดูสเตชั่นการทำงานว่าที่ร้านเรามีอะไรบ้าง ตำแหน่งงานในร้านมีกี่ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งต้องใช้กี่คนถึงจะไหว โดยให้คำนึงถึงการทำงานจริงเป็นหลัก อย่าเพิ่งใส่เผื่อเหลือมาก เพราะถึงเวลาทำงานจริงจะเกิดการเกี่ยงงานกันได้ เอาจำนวนพอดี ๆ เช่น
หน้าร้าน ต้องมีพนักงานประจำจุดต้อนรับลูกค้าหน้าร้านหรือไม่ ถ้ามีจะต้องใช้กะละคน หรือว่า คนเดียวยืนเฉพาะช่วงเช้าเวลาใดเวลาหนึ่ง และช่วงบ่ายหรือเย็น เวลาใดเวลาหนึ่ง
แคชเชียร์ ถ้าร้านมี 2 กะ แคชเชียร์ก็ต้องมี 2 คน กะเช้า 1 คน กะบ่ายอีก 1 คน เท่ากับต้องใช้แคชเชียร์ 2 คนต่อวัน (แต่ถ้าต้องการเซฟค่าแรงส่วนนี้ก็สามารถให้ผู้จัดการร้าน หรือ ผู้ช่วยผู้จัดการร้านมาทำหน้าที่แคชเชียร์กะใดกะหนึ่งได้)
บริการ บางร้านจะแบ่งหน้าที่ชัดเจนระหว่างพนักงานรับออเดอร์กับพนักงานเสิร์ฟ แต่ละกะจะใช้กี่คนแนะนำหลักคิดว่า กะเช้าวันจันทร์ถึงศุกร์ถ้าลูกค้าไม่ค่อยเยอะ ก็ใช้พนักงานบริการกะเช้า 2-3 คนก็พอ กะเย็นลูกค้าเริ่มเยอะก็เพิ่มพนักงานเป็น 3-4 คน
หรือจะใช้สูตรเอาP&Lของร้านมาเป็นตัวตั้ง ว่ายอดขายจะได้เท่าไหร่ ค่าแรงควรอยู่ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น ตั้งยอดขายไว้ที่เดือนละ 500,000 บาท ค่าแรงเฉลี่ยแล้วไม่ควรเกิน 20% เท่ากับว่า ร้านนี้จะใช้เงินในการจ้างพนักงานทั้งร้านรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ก็นำตัวเลข 100,000 บาทมาเฉลี่ยกับจำนวนพนักงานที่คิดว่าจะต้องใช้ในแต่ละสเตชั่น เช่น ค่าจ้างพนักงานทั่วไปอยู่ที่ 10,000 บาทต่อคน ก็จะจ้างได้ 8 คน ผู้จัดการเงินเดือน 20,000 บาท 1 คน เท่ากับได้พนักงาน 9 คน ก็จับแต่ละคนลงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้แล้วดูว่าไหวมั้ย เพราะสุดท้ายแล้วการจ้างงานเจ้าของร้านก็ต้องดูงบกำไรขาดทุนด้วย ไม่ใช่จ้างตามใจต้องการไม่เช่นนั้นจะเจอปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงเกินจำเป็น การจ้างพนักงานจึงต้องดูทั้งในส่วนการทำงานจริง ๆ และต้นทุนค่าแรงในการจ้างด้วย ต้องให้พอดีไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป เช่น กำหนดค่าแรงไว้ต้องไม่เกิน 20% ของยอดขาย แต่พนักงานต้องแบกงานจนเหนื่อยไม่นานก็เจอปัญหาพนักงานลาออกหนีไปที่อื่น ดังนั้นต้องดูสถานการณ์ทำงานจริงด้วย เพราะจริง ๆ แล้วสูตรการจ้างงานสามารถพลิกแพลงได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าต้องการเพิ่มคนต้นทุนแรงงานเพิ่ม เราก็ไปเพิ่มเป้ายอดขายขึ้นเพื่อให้บาลานซ์กัน
จุดต้องระวังคือ การบริหารเวลาทำงานของพนักงานแต่ละกะ จุดนี้ถ้าบริหารไม่ดีจะส่งผลต่อการทำงานในช่วงเวลาพีค ๆ ได้ และจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ คือ จ้างพาร์ทไทม์ หรือ อัดOT ทำให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่ม แต่ถ้าบริหารเวลาเข้างานได้ดีปัญหานี้จะเกิดน้อยมาก ต้องดูว่าช่วงไหนของร้านที่เป็นช่วงขายดี ก็ควรจัดพนักงานเข้าช่วงนั้นเป็นหลัก ส่วนช่วงอื่น ๆ จัดพนักงานให้งานรันตามระบบได้ ยกตัวอย่าง ช่วงวันธรรมดา กะเช้าลูกค้าน้อย หน้าที่หลักพนักงานมาเพื่อเตรียมงานไว้สำหรับกะบ่าย ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานลงกะเช้าเยอะก็ได้
อีกจุดควรระวังคือ วันหยุด และช่วงพักของพนักงานจะเกิดช่องว่างพนักงานจะไม่พอได้ ผู้จัดการร้านต้องจัดตารางวันหยุดและจัดช่วงเวลาพักไม่ให้งานสะดุด
เปิดรับสมัครแล้ว หลักสูตร Operation Setup รุ่น 6
จัดการร้านอาหารให้เป็นระบบ
(Extra Workshop & Store Visit ร้าน Copper Buffet)
หลักสูตรOperation Setup เป็นการเทรนนิ่งให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถจัดการร้านอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน เติบโต ยั่งยืน ขยายสาขา
❗พ่อครัว แม่ครัวลาออก ก็สามารถบอกว่าช่างแมร่งได้อย่างสบาย หรือพนักงานมีปัญหาก็มีแนวทางจัดการอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้ จะทำให้เจ้าของกิจการไม่ต้องปวดหัวและเหนื่อยกับการดูแลร้านอาหารจนไม่มีเวลาให้กับชีวิต!!! เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร SMEs โดยเฉพาะ
? หลักสูตรนี้มุ่งหวังผลลัพธ์ 3 ข้อเป็นสำคัญ
1.ช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารมีเครื่องมือในการวางระบบจัดการภายในร้าน
2.ช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารมีเครื่องมือในการจัดการบุคคลากรภายในร้านแต่ละตำแหน่ง
3.ช่วยให้ผู้ประกอบการมีเวลาให้กับชีวิต ออกไปค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ นำมาพัฒนาร้าน โดยไม่ต้องกังวลว่า ไม่อยู่ร้านแล้วร้านจะเจ๊ง
ร้านอาหารถ้าไม่มีระบบ หรือมีแต่ระบบไม่ดี ธุรกิจจะไม่โต เจ้าของกิจการเหนื่อยจนวันสุดท้าย
สนใจเข้าร่วมอบรมสามารถดูรายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรและสมัครได้ที่