ผมมีโอกาสได้เจอกับเจ้าของร้านอาหารเพิ่งเริ่มต้นอยู่เรื่อยๆ และมีส่วนเข้าไปรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาประสบ แม้จะเป็นมือใหม่แต่พวกเขาก็ได้เริ่มต้นประสบการณ์ธุรกิจร้านอาหารแล้ว คนทำร้านอาหารมือใหม่กิจการขนาดเล็กมีสิ่งที่เหมือนกันหลายๆ อย่าง เอาเรื่องดีก่อน นั่นคือ ใจที่กล้าลุย จุดนี้แหละที่เพื่อนแท้ร้านอาหารมองว่า มันคือขุมพลังของความสำเร็จ หากขุมพลังนี้ไม่หมดลงเสียก่อน นี่จึงเป็นเหตุผลให้เราตั้งใจจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อมีส่วนเข้าไปช่วยเพิ่มเติมสนับสนุนให้ขุมพลังงานนี้ยังมีพลังขับเคลื่อนพาผู้ประกอบการร้านอหาร SME ไปสู่ความสำเร็จให้ได้
ปัญหาหนึ่งที่ผมได้เห็นจากผู้ประกอบการมือใหม่จำนวนไม่น้อยซึ่งเป็นมักเป็นปัญหาที่ไม่ได้ใหม่เลยนั่นคือ หลายคนเริ่มต้นทำร้านด้วยความคิดแบบที่คนสำเร็จเคยให้นิยามเรียกว่า ตีวงแคบเฉพาะรอบตัวเองมากไปหน่อย แม้แต่ถนนเส้นยาวไม่มากจากหัวถนน ถึงท้ายถนนไม่เกิน 10 กิโลฯ เขายังไม่รู้เลยว่า มีร้านคู่แข่งในแนวเดียวกันกี่ร้าน รสชาติอาหารร้านคู่แข่งเป็นอย่างไร บรรยากาศร้านคู่แข่งเป็นอย่างไร หรือแม้แต่เรื่องที่น่าจะสำคัญที่สุดก่อนอย่างเช่น การทำให้ลูกค้ารู้ว่ามีร้านเราตั้งอยู่ ณ จุดนั้นๆ หรือทำหน้าร้านให้คนอยากแวะเข้ามา ยังกลายเป็นเรื่องที่ถูกปล่อยผ่านไปวันแล้ววันเล่า พลาดโอกาสดีๆ ที่จะมีลูกค้าเพิ่มไปอย่างน่าเสียดาย
หรือแม้แต่กรณีการทำการตลาดหลายๆ คนมองข้ามรัศมี 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็น 10 กิโลเมตรที่คนสำเร็จทุกคนบอกว่าตรงกันว่า คือพื้นที่ของกลุ่มลูกค้าประจำของร้าน เพื่อนๆ ได้ทำอะไรกับ 10 กิโลเมตรนั้นหรือไม่ ทำให้คนใน 10 กิโลเมตรรู้จัก สร้างความเป็นมิตรกับ 10 กิโลเมตรนี้หรือไม่ เพราะลูกค้าระยะไกลๆ ที่ลงทุนยิงแอดเฟสบุ๊กไปมากๆ นั้นไม่ใช่ลูกค้าที่จะมาใช้บริการประจำได้ อาจมาเพราะความสนใจจากแอดที่เห็นแล้วเขาก็จะจากไปมีโอกาสผ่านทางมาจึงจะแวะ ผิดกับลูกค้าระยะใกล้ที่สามารถมาได้ประจำ
และอีกหนึ่งเรื่องใหญ่สำคัญมากๆ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กทำผิดพลาดก็คือ การจัดการเรื่อง Foodcost หรือต้นทุน ยกตัวอย่าง คุณป้าขายอาหารตามสั่งหน้าปากซอย ขายข้าวผัดปลาหมึกกล่องละ 50 บาท ไส่ไข่ไก่เบอร์ 1 2 ฟอง ปลาหมึกตัวใหญ่ๆ 2 ตัว ข้าวหอมมะลิแบ่งได้ 2 จานอิ่ม มะเขือเทศหัวใหญ่ 1 หัว ผักคะน้าก้านโตๆ 2 ก้าน ต้นหอมอีก ยังไม่พอ มีมะนาวครึ่งลูก ต้นหอมเป็นผักเคียงอีก แล้วก็ใส่กล่องกระดาษ แอบถามคุณป้าว่า ป้าขาย 50 บาทได้กำไรไหม ป้าบอกว่าก็พอได้ ก็ไม่แน่ใจว่าป้าจะได้กำไรจริงหรือไม่
ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กจำนวนไม่น้อย ตั้งราคาเมนูที่ขายโดยเอาความรู้สึกมาวัด ไม่ได้ดูจาก Foodcost ทั้งที่ Foodcost ถือว่าเป็นหัวใจหลักข้อแรกๆ ของการทำร้านอาหารไม่ว่าจะเป็นร้านอะไร ขนาดเล็กแค่ไหนก็ตาม เพราะ Foodcost จะช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการต้นทุนแท้จริงได้ สามารถวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ของร้านได้ถูกต้อง
ประเด็นที่อยากจะบอกอีกข้อก็คือ จากคำให้การของคนสำเร็จในธุรกิจร้านอาหาร การโฟกัสอยู่แต่กับประเด็นที่ไม่ได้ทำให้ตัวเลขยอดลูกค้าเพิ่ม ยอดขายตามเป้า ยอดเงินในระบบหมุนเวียนคล่อง ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นความเหนื่อยที่นำไปสู่ความท้อ เพราะบรรดาเจ้าของร้านอาหารที่สำเร็จนั้นมีหลายๆ สิ่งที่เหมือนกันหนึ่งในสิ่งนั่นคือ เขาโฟกัสที่จุดสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของร้านเป็นหลัก มิเช่นนั้น Startup ก็จะต้องลุ้นกับช่วงเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ว่าจะอยู่รอดไปต่อได้หรือ ซึ่งไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นเลยครับ เพราะธุรกิจร้านอาหาร ในภาพรวมของตัวธุรกิจถือเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใสทุกสถานการณ์ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของคนเรา และยังเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นๆ อย่างแนบชิด แต่ผู้ประกอบการจะทำอย่างไรให้ร้านของตัวเองสำเร็จ คือเรื่องที่ต้องวางแผนให้รัดกุมตั้งแต่ก่อนเริ่มลงมือทำ
สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังเจอปัญหาเรื่องต้นทุนสูง ยอดขายกำไรน้อย ขายดีแค่ไหนกำไรก็ยังน้อย ณ ตอนนี้จำนวนที่นั่งเข้าอบรมหลักสูตร Foodcost For Restaurant SME รุ่น 8 ยังมีที่วางอยู่อีกจำนวนหนึ่ง เนื่องจากเราจะให้สิทธิ์ท่านที่ลงทะเบียนและชำระค่าหลักสูตรเป็นลำดับก่อน หากท่านคิดว่า ปัญหาเรื่องต้นทุน และยอดขายคือปัญหาใหญ่สุดในเวลานี้ หลักสูตร Foodcost For Restaurant SME ที่เพื่อนแท้ร้านอาหาร จัดขึ้นนี้จะช่วยให้ท่านพบทางออกได้แน่นอน เพราะหลักสูตรนี้ เรานำปัญหาจริงๆ มาเป็นโจทย์ในการจัดการ ไม่ใช่เป็นหลักสูตรโมติเวทมานั่งฟังอย่างเดียว แต่จะเป็นหลักสูตรการอบรมที่เข้มข้น มีภาคปฏิบัติเพื่อท่านจะได้ออกแบบ Foodcost ให้เหมาะกับร้านอาหารของท่านเองได้แม่นยำที่สุด และนี่คือหลักสูตรที่ผู้มีโอกาสเข้าอบรมทุกท่านบอกต่อว่า “ใช่” สำหรับคนทำร้านอาหาร
ติดตามรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม และสมัครได้ที่นี่