Switching Cost ศัพท์ต้องรู้ของคนทำร้านอาหาร

มีคำถามมาครับว่า มีธุรกิจร้านอาหารแบบใดบ้างที่ทำสำเร็จได้ง่าย ไม่ต้องเหนื่อยทำเองทุกอย่าง เพราะภาพที่เขาเห็นคนทำร้านอาหารแต่ละคนมีแต่ความเหนื่อย ไม่มีเวลาหยุด ตัวเขาสนใจทำร้านอาหารแต่ก็ไม่อยากเจอสภาพแบบที่ว่า เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะตราบใดที่ยังไม่ได้ลงมือทำ หรือไม่ได้อยู่ในจุดที่คนทำร้านอาหารกำลังดำเนินอยู่ ไม่มีทางรู้หรอกว่า มันยาก มันเหนื่อยจริงหรือไม่ เพราะหลายๆ คนที่สำเร็จในการทำร้านอาหารล้วนบอกว่าเหนื่อย แต่สนุก และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ เอาเป็นว่าคำตอบที่จะแนะนำถ้าใครอยากทำร้านอาหารแล้วต้องการความเหนื่อยที่น้อยหน่อย มองไปที่แฟรนไซส์แบรนด์ที่สำเร็จแล้ว เพราะคุณจะได้เปรียบเรื่องค่า “Switching Cost”

การซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ที่สำเร็จแล้วมาบริหาร แม้จะไม่ใช่การสร้างแบรนด์ตัวเอง แต่เป็นการทำธุรกิจที่มีโอกาสสำเร็จง่ายขึ้นอีกนิดนึง เนื่องจากการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ที่สำเร็จแล้ว จะช่วยลดค่าสวิตช์ชิงคอสต์ (Switching Cost) ได้มาก

แฟรนไซส์

แล้วค่าสวิตช์ชิงคอสต์คืออะไร?

 

ก็คือ การซื้อโอกาสในการถูกเลือกจากลูกค้าที่มีมากกว่าแบรนด์ทั่วๆ ไป ยกร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นตัวอย่าง สมมติว่าในยานอาศัยของเรามีร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ชื่อดังค่ายภูเขาไฟ แล้วเราก็นึกอยากเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นแบบเดียวกันเลยมาแข่งขัน กำหนดตำแหน่งทางตลาดในระดับเดียวกัน ราคาเท่ากัน สมมุติต่อว่าลูกค้าจ่ายเฉลี่ยต่อครั้งที่มาใช้บริการร้านภูเขาราว 500บาท คำถามคือ ถ้าเราอยู่ในสถานะลูกค้าจะยอมจ่ายในราคาเท่าไรเพื่อเปลี่ยนใจจากร้านภูเขาไฟ ไปเป็นลูกค้าร้านอาหารญี่ปุ่นร้านใหม่นั้น ราคาที่ทำให้คุณยอมเปลี่ยนใจทดลองเป็นลูกค้าร้านโนเนมนั่นแหละครับ เรียกว่า ค่าสวิตช์ชิงคอสต์

แฟรนไชส์1

ซึ่งสำหรับสินค้าบางประเภทค่าสวิตช์ชิงคอสต์อาจสูงถึง 50% ก็เป็นได้ เช่นกว่าคุณจะกล้าตัดสินใจทดลองใช้สินค้าแบรนด์โนเนม ก็ต่อเมื่อมีราคาถูกกว่าแบรนด์ดังครึ่งหนึ่ง! นึกถึงสมาร์ทโฟนก็ได้ครับแบรนด์จีนขนาดเกรดเอ จัดเต็มทุกอย่างราคาเกินหมื่นคนบอกว่าแพง! แต่แบรนด์เกาหลี แบรนด์ USA คนยอมรูดบัตรซื้อในราคาที่สูงกว่าเท่าตัว ส่วนต่างนั้นแหละครับคือโอกาสที่กำไรที่เสียไปของแบรนด์โนเนม

แฟรนไชส์2

แต่ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ที่สำเร็จ มีระบบแฟรนไชส์ที่เข้มแข็ง จะช่วยให้ค่าสวิตช์ชิงคอสต์ต่ำลงได้ ซึ่งหมายถึงโอกาสสร้างกำไรที่มีมากกว่า ยังไม่นับรวมข้อดีของระบบการจัดการที่แฟรนไชส์มีให้ไว้พร้อม ไม่ต้องลงทุนทำเอง เป็นทางลัดของคนที่ต้องการความ “ง่าย” และ “ไว” แต่ก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไปนะครับ เพราะยิ่งเป็นแบรนด์ดังค่าโซหุ้ยต่างๆ ก็ย่อมสูงเป็นธรรมดา และถ้าคนเป็นเจ้าของร้านไม่ยอมเหนื่อยบ้างเอาแต่จ้างคนดูแลแทนนับวันรอเจ๊งได้เลยครับ

 

ทำร้านอาหารไม่ว่าจะรูปแบบไหนไม่มีหมู จะสำเร็จได้ต้องมีใจรักเป็นต้นทุนสำคัญ


ขอบคุณรูปประกอบจากร้านต่างๆ

 

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด