อยากขยายธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์จะเริ่มอย่างไรให้สำเร็จ

Q&A by คณะรักษาความสงสัยและช่วยไขกระจ่าง (คสช.)  

 

สมาชิกถาม : “เปิดร้านสเต็กมาได้ 1 ปีครึ่ง ผลตอบรับค่อนข้างดี ยอดขายตามเป้า ตอนนี้มีความคิดอยากจะต่อยอดให้เป็นแฟรนไชส์ อย่ากทราบว่า ถ้าจะทำแฟรนไชส์ต้องเริ่มต้นอย่างไรดี เราต้องทำอะไรบ้าง แล้วความเสี่ยงในการทำแฟรนไชส์ หรือข้อควรระวังมีอะไรบ้างค่ะ”

13501577_1212181748801492_5209847317646689177_n

คสช.เพื่อนแท้ตอบ :  เป็นคำถามสั้นๆ แต่คำตอบถ้าเอาแบบละเอียดๆ ยาวมากครับ เพราะการทำแฟรนไชส์มีหลายส่วนให้ต้องคิดและวางแผน รวมไปถึงต้องสัมภาษณ์พูดคุยถึงตัวกิจการต่างๆ ที่ทำมาอย่างละเอียดด้วย วันนี้ผมขออธิบายแบบสรุปพอให้เห็นภาพคร่าวๆ ของแฟรนไชส์กันก่อน ขอยกเอาร้านสเต็กมาเป็นตัวอย่างกันเลย กรณีร้านสเต็ก โดยหลักการแล้วทำเป็นแฟรนไชส์ได้อยู่แล้วครับ แต่จะเป็นแฟรนไชส์รูปไหนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยดูจากรูปแบบขนาดกิจการที่ทำอยู่ ผลประกอบการ เป็นต้น

 

แบ่งแฟรนไชส์ออกเป็น 2 ประเภท

 

1.แฟรนไชส์ธุรกิจ คือ ประเภทที่ขายขาดกันไปเลย มีKios มีรถเข็น มีโลโก้ อุปกรณ์ นึกถึงสเต็กธงฟ้า หรือ ร้านกาแฟ Kios ต่างๆ

2.แฟรนไชส์ระบบ คือ ประเภทที่ไปพร้อมระบบการจัดการส่วนต่างๆ มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้า (Entrance Fee ) ค่าธรรมเนียมจัดการรายเดือน (Royalty Fee) เป็นต้น

 

ทั้ง 2 ประเภทก็มีรายละเอียดที่ต้องวางแผนแตกต่างกันไป ประเภทที่ 1 อาจจะเหนื่อยในการเซ็ตอัพน้อยกว่าประเภทที่ 2 แต่โอกาสในการต่อเนื่องของธุรกิจจะเหนื่อยมากกว่าแบบที่ 2 ในระยะยาว เพราะรายได้หลักๆ มาจากการขายสาขา

 

14142022_10153657636947735_5691956510806780426_n

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อคิดจะทำแฟรนไชส์

 

เอาจากประสบการณ์ตรงของตัวผมเองเลยนะครับ สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเมื่อจะทำแฟรนไชส์เอาเรื่องสำคัญๆ ดังนี้

 

– จะตั้งราคาขายแฟรนไชส์เท่าไร

 – จะให้อะไรลูกค้าบ้าง

– ช่องทางรายได้ต่อเนื่อง

 – กี่เดือนคืนทุน

 – สัญญากี่ปี

หลักๆ ประมาณนี้ แต่ในรายละเอียดนี่เพียบเลยครับ เพราะต้องไม่ลืมว่าจุดประสงค์ของการทำแฟรนไชส์คือ เพื่อต้องการยกระดับกิจการแบบก้าวกระโดดก็ว่าได้ ขยายสาขาด้วยเงินคนอื่น แต่สิ่งสำคัญคือ คนลงทุนต้องสำเร็จ เราจึงจะสำเร็จตามไปด้วย

 

มาดูความเสี่ยงของแฟรนไชส์ตามที่ถามมาครับ

เอาแบบสรุปเลยนะครับ มีข้อที่ต้องระวัง ตามนี้

– ลูกค้าซื้อไปแล้วพอขายดีก็เลิกใช้แบรนด์เรา เปลี่ยนเป็นชื่อร้านตัวเอง จะเกิดกับแฟรนไชส์ประเภทธุรกิจ

– ลูกค้าแอบซื้อของวัตถุดิบที่อื่นแล้วรสชาติไม่ดี เสียถึงแบรนด์เรา เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ประเภท

– การดูแลแฟรนไชส์ซีไม่ทั่วถึง ทำให้แฟรนไชส์ซี่ไปไม่รอด

– ข้อสัญญาไม่รัดกุม มีผลต่อการถูกหาช่องทำผิดเงื่อนไข

– ระบบล่ม ออกแบบระบบแล้วไม่สามารถนำไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ทุกพื้นที่

13501890_1745495485708935_7301786629980487672_n

โดยสรุปประมาณนี้ก่อนนะครับ เพราะอย่างที่บอกเรื่องแฟรนไชส์ มีรายละเอียดน่าสนใจให้ต้องพูดถึงเยอะครับ ไว้โอกาสต่อไป จะได้มาเล่าสู่กันฟัง หรือหากท่านใดสนใจเรียนรู้ขั้นตอนการเซ็ตอัพระบบแฟรนไชส์ ตอนนี้เรามีคอร์สออนไลน์ “Set up Franchise Management”เปิดให้สมัครเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา มีรายละเอียดวิธีการวางระบบแฟรนไชส์ให้เพื่อนๆ ได้นำไปวางแผนกับกิจการตัวเองเพื่อต่อยอดขยายธุรกิจต่อไปครับ

 


 

เขียน : ลัทธพล เลิศลบศิริ

 

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด