5 จุดบอด ที่ทำให้ร้านอาหารเปิดใหม่กระเป๋าฉีก

จะเปิดร้านอาหารทั้งทีต้องมีเงินลงทุนใช่สิ…ถ้าไม่มีเงินแล้วจะเปิดร้านได้ยังไง แต่สิ่งที่ยากกว่าการได้เงินมาลงทุน คือทำยังไงให้ถอดทุนคืนแล้วได้กำไรมาแทนที่ เพราะเงินลงทุนที่ว่า…มีโอกาสหายวับไปกับตา ทั้งที่กำไรยังไม่เกิด ทุนก็ยังไม่ได้ เหตุการณ์ที่ว่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้แน่ๆ หากเจ้าของกิจการไม่ระวัง 5 เรื่องต่อไปนี้

 

  1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอุปกรณ์ใหม่เข้าร้าน

เปิดร้านใหม่ใจต้องกล้า หลายคนคิดแบบนั้นแต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น นอกจากกล้าจ่ายเงินซื้อแล้วควรรอบคอบเวลาใช้จ่ายเงินด้วย อุปกรณ์เครื่องครัวไม่จำเป็นต้องเป็นมือหนึ่ง รุ่นท๊อปและราคาแพงลิ่วเสมอไป อุปกรณ์มือสองใช้ได้ ลองสอดส่องสินค้าออนไลน์ และซื้อเท่าที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ใช่ซื้อเพื่ออวดว่าฉันมี ในต่างประเทศมีบริษัทที่ให้บริการคำปรึกษาสำหรับร้านอาหารเปิดใหม่ ตั้งแต่เรื่องจัดหาอุปกรณ์ไปจนถึงตกแต่งร้าน แต่สำหรับบ้านเรา บริษัทแบบที่ว่ายังมีน้อย (ซึ่งเพื่อนแท้ร้านอาหารกำลังจะดำเนินกิจกรรมในลักษณะนี้เพื่อสนับสนุนให้คนทำร้านอาหารสะดวกมากขึ้น) ก็อยู่ที่ตัวเราเองจะใฝ่หาความรู้ เริ่มต้นง่ายๆ ไปกินร้านไหนลองพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าของกิจการร้านอาหารร้านนั้น หรือลองหาประสบการณ์ทำงานในร้านอาหารดู แล้วจะรู้ว่าสิ่งไหนจำเป็นไม่จำเป็นจริงๆ

P8270285

  1. เทคโนโลยี

เทคโนโลยีก้าวหน้าก้าวไกลไปทุกที่ ทุกสาขาอาชีพธุรกิจร้านอาหารของเช่นกัน แต่จำเป็นไหมที่ร้านอาหารเล็กๆ จะต้องมีระบบสั่งอาหารแบบเดียวกับร้านสุกี้ชื่อดัง หรือตามแบบร้านอาหารญี่ปุ่น แบบที่พนักงานใช้นิ้วจิ้มสั่งออเดอร์จากหน้าจอเครื่องสี่เหลี่ยมแทนการเขียนหากจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการ คำถามก่อนว่า ควรเริ่มจากส่วนไหนก่อนระบบบัญชีดีไหม ระบบเช็คสต๊อกเป็นอย่างไร เทคโนโลยีนำเข้ามาใช้ได้และเป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับร้านเล็กๆ ควรเน้นไปที่ส่วนจำเป็น ไม่ใช่ทุกส่วนจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี

 

  1. การขายและการตลาด

ข้อนี้ทำไม่เป็นก็เจ๊งได้!! คิดให้เยอะ ลงทุนให้น้อย แต่ต้องหวังผลยุคนี้สิ่งที่ช่วยให้ร้านอาหารขนาดเล็กออกมายืนโดดเด่นท่ามกลางการแข่งขันในทะเลเดือดได้ คือ อินเทอร์เน็ต ช่องทางในโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ และบล็อก ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือช่องทางการประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในโลกยุคใหม่ที่ลงทุนน้อยที่สุด

PB290047

  1. การตกแต่งปรับปรุงภายในร้าน

เรื่องนี้สำคัญต้องกำหนดค่าใช้จ่ายให้ดีตั้งแต่ต้น ร้านใหม่ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทั้งหมด แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เจ้าของร้านอาหาร ควรทำการบ้านด้วยการศึกษาหาไอเดียทำร้านจากแหล่งต่างๆ มาก่อน การตกแต่งภายในร้านกับราคาอาหารควรไปด้วยกันร้านแต่งหรู แม้ราคาไม่แพงก็อาจไม่มีลูกค้า เพราะคนไม่กล้าเข้าร้าน อาหารแพง แต่ร้านไม่สวย เดี๋ยวนี้คนก็อาจจะมองผ่านความเหมาะสมตรงกลาง แบบที่ถูกจริตกับกลุ่มเป้าหมายต่างหากที่สำคัญ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่า นอกจากเงินก้อนที่จ่ายสำหรับปรับปรุงและทำร้านใหม่ในตอนแรกเจ้าของร้านอาหารควรเผื่อเงินไว้สำหรับค่าบำรุงรักษาร้านระหว่างเปิดกิจการที่จะเข้ามาเรื่อยๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำรั่ว เปลี่ยนหลอดไฟ เปลี่ยนก๊อก ท่ออุดตัน ฯลฯ

 

  1. ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบ

ร้านอาหารทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการชูความเป็นต้นตำรับจริงๆ ควรเลือกใช้วัตถุดิบที่หาซื้อได้ง่ายจากในท้องถิ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์หลายๆ เจ้า เลือกของดีมีคุณภาพ จากเจ้าที่ให้ราคาสมเหตุสมผลไม่จำเป็นต้องซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์เจ้าเดียวเสมอไป สรุปประมาณการต้นทุนวัตถุดิบให้ได้

 

นอกจากนี้…การคิดเมนูอาหารควรให้สอดคล้องกับวัตถุดิบที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่นและราคาไม่แพงเมื่อเปิดกิจการแล้วไม่ควรปล่อยปละละเลย แต่ต้องสังเกตเมนูอาหารที่ลูกค้ารับประทานด้วยว่าอาหารแต่ละจานที่ยกเสิร์ฟไป ลูกค้าทานหมดหรือไม่เหลือกลับมามากน้อยแค่ไหน หรือพอดี หากการประเมินพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ทานเหลือสิ่งที่ร้านอาหารควรทำ คือ เสิร์ฟอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพราะปริมาณอาหารที่มาก ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ แต่เสิร์ฟแบบพอดี พอทาน อิ่มกำลังดีนั้น สร้างความสุขทั้งต่อลูกค้าและต่อร้านอาหารเองด้วย

PA110593

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ร้านอาหารมือใหม่ควรจำให้ขึ้นใจคือ การควบคุมงบประมาณไว้สำหรับใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และต้องไม่ยอมปล่อยให้งบประมาณบานปลายเป็นอันขาดการขาดการวางแผนเพื่อควบคุมงบประมาณทำให้ธุรกิจร้านอาหารต้องปิดตัวลงมานักต่อนัก แต่ตราบใดที่มีการวางแผนใช้จ่าย แล้วเดินตามแผนให้มากที่สุดวินัยส่วนนี้จะช่วยขจัดปัญหางบประมาณที่งอกเงยเกินความจำเป็นได้ แล้วร้านอาหารก็จะอยู่รอด ถอนทุน และทำกำไร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องหน้าซีดเหงื่อตก


โดย…แอดมิน AmpAmp


ต้นฉบับ http://restaurantengine.com/startup-restaurants-typically-overspend/

 

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด