เป็นกรณีของอดีตร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อเจ้าประจำร้านหนึ่งของแอด เคยฝากท้องมาหลายปีเพราะรสชาติดี อร่อย ปริมาณคุ้มราคาแต่ช่วงปีที่ผ่านมา อะไร ๆ เริ่มเปลี่ยนไปขนาดร้านจากที่เคยใหญ่คืนพื้นที่เหลือร้านเล็กลง จำนวนพนักงานจากที่มีกัน 4-5 คนเหลือ 2 คนไม่รวมเจ้าของ ล่าสุดเหลือ 2 คน รวมเจ้าของ
แวะกิน 2 ครั้งหลังสุดครั้งแรกรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนไปทั้งรสชาติ และปริมาณ และราคา แต่ยังเฉย ๆ รับได้ ครั้งสองหนล่าสุดไม่กี่วันนี้ตัดสินใจจบความสัมพันธ์เลิกฝากท้องให้เป็นอดีตร้านประจำไป
สาเหตุเพราะ รสชาติเปลี่ยน/ปริมาณลดลง/หาเนื้อแทบไม่เจอ/มาเป็นเศษเนื้อ และเนื้อ ม้าม ผ้าขี้ริ้ว แบบหั้นเส้นเล็กมาก ๆ แต่ราคาเพิ่มขึ้น!!!
ช่วงที่ไปเวลาก็ยังได้อยู่ แต่ปริมาณลูกค้านับหัวได้ไม่กี่คนจากที่เคยมีรถจอดเยอะ ๆ หน้าร้านจากที่เคยมีขนม มีไอศกรีม และอื่น ๆ ขายหายไปหมด เหลือแต่ก๋วยเตี๋ยวและจากที่เคยเห็นต้ม ตุ๋นเนื้อหมอใหญ่ ๆ เดี๋ยวนี้เหลือหมอเล็ก ๆ
ประเด็นที่น่าศึกษาคือ
ถ้ายอดขายตก การหันมาควบคุมต้นทุนเป็นสิ่งควรทำ แต่ที่ควรระวังมาก ๆ คือจะต้องไม่กระทบกับมาตรฐานเดิม รสชาติ ปริมาณ จะขึ้นราคาก็ได้แต่คุณภาพก็ต้องไม่ตก
หากมีความคิดว่ายอดขายตกต้องผลักภาระทุกอย่างไปให้ลูกค้าหมดลดปริมาณ เพิ่มราคาระวังยิ่งทำจะยิ่งแย่ ลูกค้าจะยิ่งหาย เรื่องรสชาติ เรื่องปริมาณ เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ลูกค้ารับรู้ได้ไวมาก ครั้งแรกอาจให้โอกาสแต่ถ้าครั้งสองคงไม่กลับมาอีก
ทางที่ควรทำถ้าต้องการลดต้นทุนคือ
การควบคุมสต็อก
ลดจำนวนแรงงานถ้าจำเป็น
หาแหล่งวัตถุดิบที่ราคาถูกกว่าเดิม
และทางที่ควรทำไปคู่กันคือ
หาวิธีเพิ่มยอดขาย
เช่น เชียร์ขายน้ำดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า
จัดเมนูเซ็ต เพิ่มเมนูใหม่จากวัตถุดิบหลักที่ใช้อยู่ เช่น ขายลูกชิ้นปิ้ง หมู เนื้อ สะเต๊ะ
หน้าร้านต้องดึงดูด ไม่ปล่อยให้ทึบ มืด เหมือนร้านปิด
ทำสะสมแต้มให้ลูกค้ากลับมาซ้ำ ๆ
จัดงบการตลาด เช่นจ้างรีวิว
เพิ่มช่องทางขาย เช่น เดลิเวอรี เป็นต้น
แต่ย้ำว่า มาตรฐานต้องไม่เปลี่ยน ดีขึ้นได้
ทัศนคติยอดตกลดต้นทุนไม่สนใจมาตรฐานร้านผลักภาระให้ลูกค้าเป็นทัศนคติยกเก่า ๆ ที่ใช้กับยุคนี้ไม่ได้แล้วและยิ่งยุคต่อจากนี้ยิ่งไม่ได้เพราะลูกค้ามีตัวเลือกมากไม่จำเป็นต้องง้อร้านค้า