ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ร้านอาหาร

มีคำถามเข้ามาเยอะว่า เปิดร้านอาหารต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ เอาตามหลักการความถูกต้องแล้วต้องจด! เมื่อเราเปิดร้านอาหาร ก็ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะมีชื่ออยู่ในระบบของกระทรวงพาณิชย์ การจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ขอพูดถึงประเภทบุคคลธรรมดาก่อน การไปจดทะเบียนจัดตั้งแบบนี้เรียกว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่ส่วนใหญ่พูดกันว่า ทะเบียนการค้า

Food cost ต้นทุน ร้าน อาหาร

เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์(บุคคลธรรมดา)

  • แบบ ทพ. ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนพาณิชย์
  • กรณี ที่ตั้งของร้าน เราไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องมีเอกสารแนบเพิ่มเติมคือ หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่เราไปขอใช้สถานที่
  • แผนที่ตั้งของร้าน
  • หนังสือมอบอำนาจ (หากเราไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตัวเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • ค่าธรรมเนียม 50 บาท

Food cost ต้นทุน ร้าน อาหารขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตทุกแห่ง ในส่วนของต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ร้านของเราตั้งอยู่ การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

 จดทะเบียนพาณิชย์ ร้าน อาหาร

ภาษีสำหรับผู้ที่จดทะเบียนบุคคลธรรมดา

 

กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และ ภ.ง.ด. 90 ในครึ่งปีหลัง ส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ ไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจะจดก็ได้ แต่ถ้ามีรายได้เกินทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) ต่างๆ ก็มีเพียงเท่านี้


By…แอดมินปอย

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด